พลตำรวจโท สมพงษ์ ชิงดวง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะหัวหน้าอำนวยการด้านประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ PCT เปิดเผยว่า มีประชาชน
แจ้งความคดีออนไลน์ของศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com
ในส่วนของคดีออนไลน์จำนวนมาก ซึ่ง 5 อันดับแรก คือ

1. หลวงลวงซื้อขายสินค้า

2. หลอกให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม

3. หลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน

4. หลอกให้ลงทุนออนไลน์รูปแบบต่างๆ

5. แก๊งคอลเซ็นเตอร์

สำหรับตัวอย่างของพฤติกรรมของคดี “หลอกลวงซื้อขายสินค้า” นั้น พบว่าสินค้ายอดซื้อขายผ่านโซเชียลมากที่สุดคือ หลอกขายโทรศัพท์ หลอกขายแท่งไฟศิลปินเกาหลี หลอกขายอัลบั้มเพลงเกาหลี หลอกขายนมผง และหลอกขายน้ำหอม

โดยข้อสังเกตที่ควรรู้ คือ

👉สังเกตสัญลักษณ์ยืนยันตัวตน จะขึ้นเครื่องหมาย “ถูก” สีฟ้า ด้านหลังชื่อเพจ

👉สังเกตดูยอดไลค์ ถ้ามีน้อยหรือไม่มีรีวิว อาจจะไม่มีความน่าเชื่อถือ อย่าซื้อ

👉สังเกตดูรายละเอียดที่เมนูความโปร่งใสของเพจ เช่น ดูหมวด ประวัติการสร้างเพจ ถ้าเพจเพิ่งสร้างเร็วๆนี้ มีความเป็นไปได้สูงเป็นเพจหลอกลวง ดูหมวด คนที่จัดการเพจนี้ หัวข้อประเทศ/ภูมิภาคหลักของผู้ที่จัดการเพจนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ต่างประเทศ และดูประวัติการเปลี่ยนชื่อเพจ จะเปลี่ยนชื่อเพจเรื่อยๆ

ส่วนพฤติกรรมของมิจฉาชีพออนไลน์ คดีที่ติดอันดับ 2 คือคดี “หลอกให้โอนเงินเพื่อหารายได้จากการทำกิจกรรม” กิจกรรมที่หลอกให้ทำมากที่สุด โดยสื่อออนไลน์ที่คนร้ายประกาศ/โฆษณามากที่สุด คือ Google ,Facebook , Tiktok คือ ให้ซื้อสินค้าทำสต๊อก ,ให้กดไลค์/กดแชร์/ดูคลิป , ปั่นยอดซื้อสินค้า สำหรับรูปแบบการหลอกให้ซื้อสินค้าทำสต๊อก คือซื้อสินค้าเข้าสต๊อกโดยไม่ต้องทำสต๊อกสินค้าจริง คนร้ายอ้างให้นำไปขายต่อ ทำกำไรได้ 20-50 % โดยคนร้ายจะให้ซื้อ-ขายหลายครั้งจึงจะถอนเงินต้นได้

Tags